Cart
    Your cart is currently empty.
Customer Login
Already a customer?
Please log in if you have a account.


เมื่อกล่าวถึงสินค้าความงามแล้ว ถ้า ไอ แอม อินกริเดียนท์ จะไม่กล่าวถึง สินค้าธรรมชาติ คงตกเทรนด์ เพราะเป็นเทรนด์ระดับโลก ที่ถูกจับมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง ไม่เว้นแม้แต่ euromonitor เมื่อเดือน มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมากล่าวถึง มาร์เก็ตติ้งเคลมสำหรับตลาดสินค้าความงามและการดูแลส่วนบุคคล อันดับ 1 ได้แก่ #natural ตามมาด้วย #hydrating เป็นอันดับ 2 และ #noparabens เป็นอันดับ 3

นั่นเป็นสาเหตุที่ “น้ำมันหอมระเหย” กลายเป็นสินค้าที่คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และถึงแม้ว่าเหรียญมี 2 ด้าน น้ำมันหอมระเหยย่อมมีข้อดี และ ข้อจำกัดเช่นกัน แต่หากเพื่อนๆ เลือกใช้น้ำหอมระเหยให้ถูกวิธีและเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยจะให้คุณประโยชน์กับเพื่อนๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้น มาติดตามกันต่อเลยค่ะว่าจริงๆ แล้ว น้ำมันหอมระเหย คืออะไร ใช้อย่างไร มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

 

เคลียร์ให้ชัดน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ต่างกับ น้ำมันนำพา (carrier oil หรือ base oil)



น้ำมันหอมระเหย (essential oil)

คือน้ำมันที่โดดเด่นในเรื่องของกลิ่นหอม ได้มาจากการสกัดจากส่วนต่างๆ จากพืช เช่น ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยาง เป็นต้น โดยวิธีการกลั่น เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ทั้งนี้น้ำมันหอมระเหยมีองค์ประกอบทางเคมีที่สลับซับซ้อน ตั้งแต่ 50 – 500 ชนิด โดยประมาณ ทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ มีทั้งความเหมือน และความแตกต่างกันไป เช่น น้ำมันหอมระเหยลาร์เวนเดอร์ให้กลิ่นผ่อนคลาย บรรเทาความเครียดวิตกกังวล โดดเด่นในด้านการปลอบประโลมผิว, น้ำมันหอมระเหยตะไคร้ให้กลิ่นสดชื่นกระปรี้กระเปร่า โดดเด่นในด้านการไล่ยุง ไล่แมลง , น้ำมันหอมระเหยซีดาร์วูด เป็นกลิ่นที่ทำให้รู้สึกอบอุ่น สบาย ปรับอารมณ์ได้ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดความมันของหนังศรีษะและเส้นผม น้ำมันหอมระเหยคาร์โมมายล์ให้กลิ่นสงบ ผ่อนคลาย โดดเด่นในด้านการปลอบประโลม อ่อนโยน โดดเด่นในด้านการคลายความเครียด ไมเกรน ลดการระคายเคืองผิว ลดการอักเสบของสิว เป็นต้น

น้ำมันนำพา (carrier oil)

ไม่ได้ให้กลิ่นหอมเป็นหลัก แต่นิยมใช้ทาบำรุงผิว เป็นตัวทำละลาย ใช้เจือจาง และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมทางผิวหนังของน้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันที่ได้จากพืชไขมันสูง มีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว (universal favourite) ให้ประโยชน์แบบครอบจักรวาล ทั้งดูแลผิว ช่องปาก สมานแผล บำรุงรักษาเส้นผมให้เงางามนุ่มสลวย น้ำมันโรสฮิป (drop of youth) โรสฮิปมีวิตามินเอ (skin vitamin) สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์ ลดเลือนริ้วรอยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี น้ำมันอาร์แกน (sos damaged hair) ช่วยให้เส้นผมนุ่มลื่นเงางามช่วยจัดแต่งทรงผมให้ง่ายขึ้น ในเวลาเร่งด่วน น้ำมันเมล็ดชาคาเมลเลีย (super nourish) มอบความชุ่มชื้นให้กับผิวและผมได้ดีเยี่ยม โดยไม่เหนียวเหนอะหนะ และซึมลงสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น


น้ำมันหอมระเหยนิยมนำมาใช้

1.สำหรับดม (aromatic)
เช่น หยดน้ำมันใส่เตาน้ำมันหอมระเหย หรือเครื่องพ่นอโรมา เพื่อสูดดม ทำสินค้าเครื่องหอมต่างๆ เช่น สเปรย์หอมปรับอากาศ, ก้านไม้หอมปรับอากาศ, เทียนหอม เป็นต้น

2.สำหรับทา (topical)
ผสมกับน้ำมันนำพา (base oil/carrier oil) ใช้นวดเพื่อผ่อนคลาย เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เช่น ครีมทาหน้าเพื่อการบำรุงผิว เซรั่มป้องกันการอักเสบ การเกิดสิว และลดสิว เป็นต้น

3.สำหรับรับประทาน (internal)
โดยนำมาปรุงอาหาร หรือทำขนม ซึ่งการรับประทานน้ำมันหอมระเหยจะต้องมีคุณภาพสูง หรือต้องเป็นเกรดบำบัดรักษาโรค และต้องระบุบนฉลากชัดเจนว่าเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ทานได้ “essential oil supplement” เท่านั้น

 

มั่นใจกับการใช้น้ำมันหอมระเหย

1.เช็คข้อมูลความปลอดภัย (safety data) เพื่อทำความเข้าใจน้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวก่อนใช้งาน

2.น้ำมันหอมระเหยโดยส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้นำมารับประทานโดยตรง เว้นแต่มีการระบุข้างฉลากว่าเป็นเกรดที่รับประทานได้เท่านั้น

3.น้ำมันหอมระเหยไม่แนะนำให้ใช้กับผิวโดยตรงโดยเฉพาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวระคายเคือง (sensitive skin และ skin irritation) ยกเว้นน้ำมันหอมระเหยบางรายการ เช่น ลาร์เวนเดอร์ ทีทรี แน่นอนว่าน้ำมันหอมระเหยบางรายการมีความเข้มข้นสูง จะต้องเจือจางก่อนใช้งาน เช่น ตะไคร้ เลม่อน เปปเปอร์มิ้น ยูคาลิปตัส เป็นต้น

4.แนะนำให้ทดสอบผิวแพ้สัมผัส (patch test) สำหรับการใช้น้ำมันหอมระเหยก่อนการใช้งาน โดยการล้างหลังข้อมือให้สะอาดด้วยสบู่ที่ไม่มีกลิ่น หยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 2-3 หยด หลังข้อมือ ปิดด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซ ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง หากเกิดอาการแดง ผื่นขึ้น หรือคัน ให้นำพลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซออกแล้วล้างให้ด้วยน้ำเย็นให้สะอาด

5.น้ำมันหอมระเหยที่มีความไวต่อแสงแดด หรือ แสงยูวี หรือ แสงหลอดไฟอัตราไวโอเลต จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นบวมแดง หรืออาจเป็นรอยไหม้ได้ ดังนั้นไม่ควรน้ำมันหอมระเหยโดยส่วนใหญ่เป็นตระกูลซีตรัส เช่น เบอร์กามอท เกรปฟรุ้ต มะนาว เป็นต้น มาเป็นส่วนผสมเครื่องสำอางที่ใช้กับกิจกรรมที่ต้องเผชิญกับแสงเหล่านี้

6.การใช้งานน้ำมันหอมระเหยกับเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ขวบ และหญิงระหว่างตั้งครรภ์ ต้องเจือจางน้ำมันหอมระเหยครึ่งหนึ่งจากปริมาณที่ระบุ รวมถึงเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่ไม่เป็นพิษ (nontoxic) และไม่เกิดการระคายเคือง (non-irritant)

7.ผู้มีความดันโลหิตสูงให้หลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยโรสแมรี่ (rosemary) ไทม์ (thyme) เสจ (sage)

8.ควรเก็บรักษาน้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันหอมระเหยที่ผสมแล้ว ไว้ในขวดสีทึบ สีชา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้พ้นแสงและความร้อน รวมถึงให้พ้นจากมือเด็ก ติดฉลากระบุชื่อ รายละเอียดสำคัญ เช่น วันหมดอายุ ปริมาณ ให้เรียบร้อย

 
guru jan supattra (กูรูแจน)

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

@iamingredient

ติดตามโปรโมชั่นพิเศษและเคล็ดลับดีๆ
iam in และ iam academy

​​​​​​​​​​​​​​