Cart
    Your cart is currently empty.
Customer Login
Already a customer?
Please log in if you have a account.

กลยุทธ์มัดใจลูกค้า เพิ่มยอดขายด้วย scent marketing

กลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบในลักษณะของแบรนด์ที่มีสินค้าต่างออกไป ลูกค้ามักจะชอบและถูกใจในสินค้าที่มีลักษณะสวยงาม หรือ มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน การทำการตลาดที่จะช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้ดีนั้น จะต้องเข้าถึงการรับรู้ด้านประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส เพื่อให้สินค้า และ บริการเป็นที่ถูกจดจำได้มากขึ้น

scent marketing คืออะไร

scent marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ “กลิ่น” เป็นแรงดึงดูดให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ถึงความรู้สึก หรือเรื่องราวของเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ ผู้คน หรือ สินค้า ตัวอย่างเช่น ร้านแว่นตา เนื่องจากร้านแว่นตาส่วนใหญ่สามารถรอรับสินค้าได้ ภายใน 20 - 30 นาที ลูกค้าอาจเกิดอาการเบื่อที่จะรออยู่ภายในร้าน การออกแบบกลิ่นภายในร้าน สามารถช่วยให้ลูกค้าเกิดความผ่อนคลายและรู้สึกสบาย ไม่เกิดอาการเบื่อในการรอรับสินค้า ผสมผสานกับการตกแต่งร้านที่ไปในโทนเดียวของกลิ่น เช่น ใช้กลิ่นชาขาว ตกแต่งร้าน และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้ชัดเจน เมื่อลูกค้าสนใจและสามารถจดจำแบรนด์ได้เพิ่มขึ้น ยอดขายของสินค้าก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน

กลยุทธ์การใช้ ‘กลิ่น’ ในการทำการตลาด

สามารถกระตุ้นให้เกิด การตัดสินใจซื้อต่อสินค้า เพิ่มมากขึ้น และช่วยให้สามารถจดจำแบรนด์ได้ดีกว่าการสัมผัสในรูปแบบอื่น มีผลงานการวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า “กลิ่นหอม” ช่วยส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นถึง 70% และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากขึ้นกว่าปกติถึง 30% จากการสร้างความทรงจำของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์

ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำการตลาดด้วยกลิ่น

แบรนด์ nike

เลือกใช้กลิ่นที่ให้ความรู้สึกเฟรช รู้สึกสปอร์ต เจาะกลุ่มลูกค้าที่สนใจในเรื่องของกีฬา ทำให้ลูกค้าเพลิดเพลินในการเลือกซื้อสินค้า และสร้างเอกลักษณ์ให้ลูกค้าสามารถจดจำตัวแบรนด์เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยของ ดร.อลัน เฮิร์สซ์ นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ ได้ทำการวิจัยกลิ่นเพื่อสร้างความจดจำและการรับรู้ โดยมีการจำลองร้านรองเท้า nike ที่มีลักษณะเหมือนกัน จำนวน 2 ร้าน ทั้งโทนสี แสงไฟ และสินค้า

แตกต่างกันเพียงแค่ ร้าน a มีกลิ่นหอมของดอกไม้ ซึ่งร้าน b ไม่มีกลิ่นหอม และได้มีการส่งผู้สำรวจเข้าไปชมรองเท้าของทั้งสองร้าน หลังจากการเข้าชมรองเท้าแล้วพบว่า 84% ของผู้เข้าชม ชื่นชอบร้านที่มีกลิ่นหอมของดอกไม้ของร้าน a มากกว่า b ทั้ง ๆ ที่สินค้าเป็นชนิดเดียวกัน จะเห็นได้ว่าการการใช้กลิ่นสามารถสร้างอิทธิพลความสนใจ ภาพลักษณ์และความประทับใจแก่ลูกค้าได้

แบรนด์ starbucks

แบรนด์ร้านกาแฟที่ใครหลายคนรู้จักกันดี โดย starbucks มีการใช้กลิ่นภายในร้านเป็นกลิ่นของกาแฟ จากการบดเมล็ดกาแฟให้ส่งกลิ่นหอมกระจายไปทั่วร้าน ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกดื่มด่ำกับบรรยากาศภายในร้าน เพิ่มการจดจำกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้ และสร้างโอกาสให้ยอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ธุรกิจสปา 

ธุรกิจสปาจะมีการเลือกใช้กลิ่นอโรมาเธอราพี หรือ น้ำมันหอมระเหยบำบัด เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ชอบความผ่อนคลาย อย่างเช่น panpuri wellness ใช้กลิ่น 

ยูคาลิปตัส หรือ กลิ่นกระดังงา ที่เป็นกลิ่นหลักของสปา อีกทั้งยังมีการตกแต่งร้านที่มีการใช้แสงไฟโทนอุ่น เพื่อเพิ่มความสงบและผ่อนคลายช่วยให้บรรยากาศของร้านมีความรื่นรมย์เหมาะกับการพักผ่อนกายและเยียวยาจิตใจให้แจ่มใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่ากลยุทธ์การใช้กลิ่นนั้น สามารถสร้างความประทับใจ และช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมีกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 

หากสนใจ เรื่อง scent marketing ต้องเริ่มอย่างไร 

iam ให้ความสำคัญของการตลาดด้วยกลิ่นเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นอาวุธสำคัญที่สามารถพิชิตใจลูกค้าได้และยังมีการเปิดสอน สำหรับผู้ที่สนใจในกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยกลิ่นหอม ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการตลาดด้วยกลิ่นเพิ่มมากขึ้น และยังได้รับความรู้ในการปฏิบัติจริงในการทำ workshop eau de perfume, solid perfume, และ reed diffuser ให้ได้รับความรู้ทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมยังมี e-certificate ของคลาส scent marketing workshop การันตีความรู้ที่ได้รับ หลังจบหลักสูตร

 

guru mim apapond (กูรูมิ้ม)

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

@iamingredient

ติดตามโปรโมชั่นพิเศษและเคล็ดลับดีๆ
iam in และ iam academy

​​​​​​​​​​​​​​