ตระกร้าสินค้า
    รถเข็นของคุณว่างเปล่าในขณะนี้
เข้าสู่ระบบ
เป็นลูกค้าอยู่แล้ว?
กรุณาเข้าสู่ระบบถ้าคุณมีบัญชี

sensory marketing ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับการทำธุรกิจเครื่องหอมบนโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง

ในยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า sensory marketing หรือการทำการตลาดผ่านสัมผัสทั้ง 5 ก็ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่สร้างความจดจำแก่แบรนด์ ได้เป็นอย่างดี แต่แล้วเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะสามารถพาแบรนด์ก้าวไปต่อได้หรือไม่ วันนี้ iam ขอพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันค่ะ

 

sensory marketing คืออะไร

การทำการตลาดแบบ sensory marketing หรือ การตลาดเพื่อดึงดูดประสาทสัมผัสของมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง รวมไปถึงการสัมผัส เพื่อสร้างตัวตนและการรับรู้ ให้แบรนด์เป็นที่จดจำ และสร้างความพึงพอใจ แก่ผู้บริโภค 

แน่นอนว่าผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจซื้อสินค้า หากเราสร้างความพึงพอใจได้ตั้งแต่แรกเห็น (first impression) การเข้าไปนั่งในใจลูกค้าก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

สารบัญ

 

การเริ่มต้นทำ sensory marketing บนโลกออนไลน์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

 

1. การตลาดกับการสัมผัส

หลายท่านอาจเกิดข้อสงสัยถึงการตลาดแบบใช้การสัมผัส บนโลกออนไลน์ จะสามารถทำได้อย่างไร ? ในเมื่อลูกค้าไม่สามารถที่จะจับ หรือสัมผัสสินค้าจริงได้ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้เลย แต่การตลาดจะทำให้คุณสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดึงความรู้สึก ผ่านการใช้จินตนาการของผู้บริโภคได้ ดังนี้

- ส่งเสริมจินตนาการด้านการสัมผัสด้วยการเห็นภาพ

การมองเห็น จะส่งผลต่อประสาทสัมผัสที่เหลือ สิ่งที่แบรนด์ควรทำคือการสื่อสารผ่านภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้จินตนาการ ถึงความรู้สึกเมื่อได้สัมผัส หรือได้เป็นเจ้าของสินค้าของคุณ “ถ้าเราหากได้ใช้สินค้านี้แล้ว เราจะรู้สึกยังไงกันนะ” 


ตัวอย่างการใช้ภาพขนนก ในการสื่อสารถึงความรู้สึกนุ่ม และเบาสบายเมื่อได้สัมผัส หรือใช้หมอนใบนี้นั่นเอง 

- ส่งเสริมจินตนาการด้วยการใช้ข้อความ

ใช้พลังแห่งคำพูด เพื่อสร้างจินตนาการและอธิบายความรู้สึกอันละเอียดอ่อน ให้ออกมาสละสลวย เพื่อเป็นการชักจูงให้ลูกค้าได้จินตนาการรู้สึกราวกับได้เข้าไปสัมผัสด้วยตัวเอง 

 

​​​​​​​

 

2. การตลาดกับการมองเห็น

แน่นอนว่าการมองเห็นจะเป็นประสาทสัมผัสหลักของการทำการตลาดบนโลกออนไลน์เลยทีเดียว เพราะการมองเห็นถือเป็นประตูไปสู่การจินตนาการได้ถึงระบบประสาทสัมผัสอื่น ๆ iam จึงขอนำเสนอวิธีที่คุณจะสามารถดึงดูดสายตาของผู้บริโภค 

- การตกแต่งหน้าร้านออนไลน์ให้เป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจ 

66% ของผู้บริโภคชอบชื่นชมเว็บไซต์ที่มีการออกแบบมาอย่างสวยงามโดยใช้เวลาในการเยี่ยมชมนานถึง 15 นาทีเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก ledgeviewpartners) จึงเป็นเหตุผลที่แบรนด์ควรที่จะให้ความสำคัญต่อการตกแต่งและ ออกแบบเว็บไซต์ รวมไปถึง แฟนเพจ และร้านค้าบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่าง shopee lazada ให้มีรูปแบบที่ดึงดูดและน่าสนใจอีกด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนดั่งเป็นหน้าร้านที่จะทำให้ลูกค้าเลือกที่จะ หยุดดูหรือเลื่อนผ่าน นั่นเอง

 

ภาพจากเว็บไซต์ stage-helias myshopify

 

- ใช้รูปภาพที่มีคุณภาพสูง

การเลือกใช้ภาพที่มีคุณภาพสูง ไม่เพียงแต่คุณภาพความคมชัดของภาพเพียงเท่านั้น แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับโปรดักส์ชัน การจัดวางองค์ประกอบภายในภาพ เพื่อบอกเล่าและนำเสนอเรื่องราวของสินค้าตั้งแต่แรกเห็น นอกจากนี้การใช้ภาพที่มีคุณภาพสูงยังช่วยให้แบรนด์ของคุณดูน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

ภาพจากเว็บไซต์ aesop

 

- การสร้างคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ

การสร้างคอนเทนต์วิดีโอนั้นถือเป็นสิ่งที่จะสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคได้หยุด และ หันมาสนใจสินค้าของคุณมากยิ่งขึ้น เพราะคอนเทนต์ประเภทวิดีโอนั้นจะไม่เพียงแต่ดึงดูดประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นเพียงเท่านั้น แต่วิดีโอจะสามารถ กระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการ ‘ได้ยินเสียง’ ไปพร้อม ๆ กัน  

 

ไฟล์:YouTube full-color icon (2017).svg - วิกิพีเดีย  dior parfums - miss dior ancillaries

 

3. การตลาดกับการได้ยิน

เมื่อเราได้ยินเสียงใดเสียงหนึ่งบ่อย ๆ จะทำให้เราเกิดความคุ้นเคย หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คุณเคยเดินเข้าร้านสะดวกซื้อแล้วได้ยินเสียงเซนเซอร์ที่ประตูเข้า-ออก จนคุ้นหู และทราบได้ทันทีว่าคือเสียงของร้านสะดวกซื้อเจ้าไหนกันบ้างไหมคะ เสียงเซนเซอร์ที่ประตูนั้นไม่เพียงติดตั้งเพื่อให้พนักงานทราบว่ามีลูกค้าก้าวเข้ามาสู่ตัวร้านเท่านั้น แต่ยังเป็นการตลาดที่สร้างการจดจำผ่านการได้ยินเสียงนั่นเอง 

 

การปรับใช้เสียงอันคุ้นเคยกับการตลาดออนไลน์นั้นนอกจากต้องคำนึงถึงเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์แล้ว คุณอาจต้องคำนึงจังหวะ และเวลาของการใช้เสียงเพื่อไม่ให้รบกวนประสบการณ์การชอปของลูกค้าคุณอีกด้วย เช่น คุณอาจเลือกใช้เสียงเมื่อมีการกดสินค้าในเว็บไซต์ใส่ตระกร้า หรือ เสียงตอนลูกค้าชำระเงินผ่านเว็บไซต์เสร็จสิ้น 

 

tips : แพลตฟอร์มการขายสินค้าออนไลน์ที่เหมาะกับการทำการตลาดผ่านประสาทสัมผัสการได้ยินคือ tiktok, instagram reel, instagram story เนื่องจากผู้คนที่เข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์มดังกล่าวจะตั้งใจเพื่อเข้ามาฟัง และ ดูวิดีโอ ถือเป็นการทำการตลาดที่ได้ทั้งการมองเห็น และการได้ยินไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 

 

 

4. การตลาดกับการได้กลิ่น

แน่นอนว่าการใช้ประสาทสัมผัสด้านการได้กลิ่นผ่านช่องทางออนไลน์นั้น ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้เลย แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับธุรกิจเครื่องหอมอย่างแน่นอน เพราะคุณสามารถที่จะใช้ข้อความ รูปภาพ รวมไปถึงเสียง ในการสื่อสารและบอกเล่าให้ผู้บริโภคสามารถจินตนาการได้ถึง ‘กลิ่น’ 

ตัวอย่างเช่น โจมาโลน ที่มีการบรรยาศถึงกลิ่นให้ผู้บริโภคได้จินตนาการ และเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ที่เคยได้กลิ่นเหล่านั้นมาก่อน

 

ภาพจากเว็บไซต์ jomalone

 

5. การตลาดกับการลิ้มรสชาติ

เช่นเดียวกันกับการได้กลิ่น การลิ้มรสนั้นแบรนด์จำเป็นต้องใช้สิ่งที่จะส่งผลต่อการจินตนาการถึงรสชาติ อย่างรูปภาพ ข้อความ รวมไปถึงเสียงที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ที่ผู้บริโภคเคยได้รับ ตัวอย่างเช่น เสียงกรอบของมันฝรั่งแผ่น เสียงซู่ซ่าของเนื้อที่แนบอยู่บนกระทะ ฯลฯ 

 

ตัวอย่างเช่น การบรรยายถึงรสชาติของกาแฟของ nespresso ที่ชวนให้นึกถึงรสชาติของกาแฟแก้วนี้
“นำไปหมักกับยีสต์เป็นเวลาถึง 72 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รสชาติที่นุ่มละมุนเหมือนผลเชอร์รี่เชื่อมและทับทิม” 

 

ภาพจากเว็บไซต์ nespresso

 

tips: แบรนด์สามารถใช้ influencer ในการรีวิวรสชาติเพื่อกระตุ้นความต้องการในการลิ้มรสของผู้บริโภคได้อีกด้วย  

 


ที่มา: blog shift 4 shop

 

guru mim apapond (กูรูมิ้ม)

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

@iamingredient

ติดตามโปรโมชั่นพิเศษและเคล็ดลับดีๆ
iam in และ iam academy

​​​​​​​​​​​​​​